เพกา

ชื่อ : เพกา

ชื่อสามัญ : Broken bones tree, Damocles tree, Indian trumpet flower

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oroxylum indicum (L.) Kurz

ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE

ชื่อท้องถิ่น : ลิ้นฟ้า (เลย, ภาคอีสาน), กาโด้โด้ง (กาญจนบุรี), ดุแก ดอก๊ะ ด๊อกก๊ะ (แม่ฮ่องสอน), เบโด (จังหวัดนราธิวาส), มะลิ้นไม้ มะลิดไม้ ลิดไม้ (ภาคเหนือ), โชยเตียจั้ว (จีน)

 

ลักษณะ

ลักษณะต้นไม้ต้น เนื้ออ่อน ขนาดเล็ก สูง 5 – 12 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอด ลำต้นเปลาตรง เปลือกนอกสีน้ำตาล แตกเป็นร่องตื้น เปลือกในสีเหลือง แตกกิ่งก้านน้อย

 

ลักษณะใบใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น ปลายใบคี่ ใบมีขนาดใหญ่ เรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปไข่ หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 4 – 5 เซนติเมตร ยาว 6 – 12 เซนติเมตร เรียงตรงข้าม โคนใบสอบเรียว หรือมน ขอบใบเรียบ
หรือหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบแหลม

 

ลักษณะดอกช่อกระจะ ออกที่ปลายยอด ก้านชูช่อดอกยาว ดอกย่อยมีขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 6 – 9 เซนติเมตร ดอกสมบูรณ์เพศ และมีสมมาตรด้านข้าง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย
ติดคงทนจนเป็นผล กลีบดอกสีแดงเลือดหมู 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายกลีบแยกเป็นรูปปากเปิด เนื้อกลีบพับย่น เกสรเพศผู้มี 5 อัน สั้น 2 อัน ยาว 2 อัน เป็นหมัน 1 อัน ติดบนหลอดกลีบดอกด้านใน
เกสรเพศเมียมี 1 อัน รังไข่เหนือวงกลีบ

 

ลักษณะผลผลแก่แล้วแตกสองแนว รูปเรียว ยาว ลักษณะคล้ายดาบขนาดใหญ่ กว้าง 8 – 12 เซนติเมตร ยาว 40 – 60 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียวเข้ม เมื่อแก่มีสีน้ำตาล เมล็ดสีขาว แบน มีปีกบาง

ประโยชน์

  1. สมุนไพรเพกาช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยชะลอการเสื่อมของเซล์ต่าง ๆในร่างกาย (ฝักอ่อน)
  2. ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัยและช่วยชะลอวัย (ฝักอ่อน)
  3. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา (ฝักอ่อน)
  4. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้ (ฝักอ่อน)
  5. ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ (ราก, ฝักอ่อน, เพกาทั้ง 5 ส่วน)
  6. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ราก, ใบ)
  7. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้เปลือกเพกา เปลือกต้นไข่เน่า ใบไข่เน่า แก่นลั่นทม บอระเพ็ด ใบเลี่ยน รากหญ้าคา รวม 7 อย่าง น้ำหนักอย่างละ 2 บาท นำมาต้มกับน้ำดื่มครั้งละ 1 แก้วเล็ก ก่อนอาหาร เช้าและเย็น (เปลือก)
  8. การรับประทานฝักเพกาหรือยอดอ่อนเพกาจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดได้ (ฝัก, ยอดอ่อน)
  9. ช่วยบำรุงโลหิต (เปลือกต้น)
  10. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต (เปลือกต้น)
  11. ช่วยขับเลือด ดับพิษในโลหิต (เปลือกต้น)
  12. การกินฝักอ่อนของเพกาจะช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่น (ฝักอ่อน)
  13. ใช้แก้ร้อนใน (ฝักแก่)
  14. ช่วยบรรเทาอาการปวดไข้ ด้วยการใช้ใบเพกาต้มน้ำดื่ม (ใบ)
  15. ช่วยแก้ไข้สันนิบาต (ราก)
  16. ช่วยแก้ไข้เพื่อลม เพื่อเลือด (เพกาทั้ง 5 ส่วน)
  17. ช่วยแก้ละอองไข้ หรือโรคเยื่อเมือกในช่องจมูกอักเสบ (เปลือกต้นตำผสมกับสุรา)
  18. ช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ ด้วยการใช้เมล็ดแก่เพกาประมาณครึ่งกำมือถึงหนึ่งกำมือ (5 – 3 กรัม) ใส่ในหม้อที่เติมน้ำ 300 มิลลิลิตร แล้วต้มไฟอ่อน ๆ จนเดือดประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว เช้า กลางวัน เย็น จนกว่าอาการจะดีขึ้น (ฝักอ่อน, เมล็ด)
  19. ช่วยขับเสมหะ ด้วยการใช้เมล็ดแก่เพกาประมาณครึ่งกำมือถึงหนึ่งกำมือ (5 – 3 กรัม) ใส่ในหม้อที่เติมน้ำ 300 มิลลิลิตร แล้วต้มไฟอ่อน ๆ จนเดือดประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว เช้า กลางวัน เย็น จนกว่าอาการจะดีขึ้น (ฝักอ่อน, เปลือกต้น, เมล็ด)
  20. ช่วยแก้อาการอาเจียนไม่หยุด ด้วยการใช้เปลือกต้นเพกาตำผสมกับน้ำส้มที่ได้จากรังมดแดงหรือเกลือสินเธาว์ (เปลือกต้นสด)
  21. ช่วยเรียกน้ำย่อย (ราก)
  22. ช่วยบรรเทาอาการแน่นหน้าอก (เมล็ด)
  23. ช่วยบำรุงกระเพาะ ตับ และปอด (เมล็ด)
  24. ช่วยแก้อาการปวดท้อง ด้วยการใช้ใบเพกาต้มกับน้ำดื่ม (ใบ)
  25. ช่วยแก้อาการจุกเสียกแน่นท้อง (เปลือกต้น)
  26. ช่วยแก้โรคบิด (เปลือกต้น, ราก)
  27. ช่วยรักษาท้องร่วง (เปลือกต้น, ราก, เพกาทั้ง 5 ส่วน)
  28. ช่วยขับลมในลำไส้ (เปลือกต้น, ใบ)
  29. ใช้เป็นยาขับถ่าย ช่วยระบายท้อง (เมล็ด)
  30. ช่วยในการขับผายลม (ฝักอ่อน)
  31. ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้เปลือกต้นเพการวมกับสมุนไพรชนิดอื่น (เปลือกต้น)
  32. ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย ทำให้น้ำเหลืองเป็นปกติ (เปลือกต้น, เพกาทั้ง 5 ส่วน)
  33. ช่วยลดการอักเสบ อาการแพ้ต่าง ๆ (เปลือกต้น)
  34. ใช้เป็นยาฝาดสมาน ช่วยสมานแผล (เปลือกต้น, เพกาทั้ง 5 ส่วน)
  35. ช่วยรักษาอาการฟกช้ำ ปวดบวม อักเสบ ด้วยการใช้เปลือกต้นหรือรากเพกากับน้ำปูนใสทาลดบริเวณที่เป็น (เปลือกต้น, ราก, เพกาทั้ง 5 ส่วน)
  36. ช่วยรักษาฝี ลดอาการปวดฝี ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาฝนแล้วทาบริเวณรอบ ๆบริเวณที่เป็นฝี (เปลือกต้น)
  37. ช่วยแก้อาการคัน ด้วยการใช้เปลือกต้นเพการวมกับสมุนไพรชนิดอื่น (เปลือกต้น)
  38. ใช้เป็นยาแก้พิษสุนัขบ้ากัด ด้วยการใช้เปลือกต้นเพกานำมาตำแล้วพอกบริเวณที่ถูกกัด (เปลือกต้น)
  39. ช่วยแก้โรคงูสวัด ด้วยการใช้เปลือกต้นเพกา เปลือกคูณ รากต้นหมูหนุน นำมาฝนใส่น้ำทาบริเวณที่เป็น จะช่วยให้หายเร็วขึ้น (เปลือกต้น)
  40. เปลือกต้นมีสารสกัดฟลาโวนอยด์ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบของหนูทดลอง (เปลือกต้น)

 

แหล่งอ้างอิง

medthai.com/เพกา/

adeq.or.th/เพกา/

Scroll to Top