ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lepisanthes fruticosa (Roxb.) Leenh.
ชื่อเรียกอื่น : โคมเรียง (ตราด), พูเวียง (นครราชสีมา), มะเถ้า ผักเต้า (ภาคเหนือ), หวดข้าใหญ่ ภูเวียง (ภาคอีสาน), ชำมะเลียง ชำมะเลียงบ้าน พุมเรียง พุมเรียงสวน (ภาคกลาง)
ชื่อวงศ์ : (SAPINDACEAE)
ลักษณะ : ไม้พุ่มถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 8 เมตร ใบ เป็นใบ ประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปไข่ถึงรูปไข่กลับ กว้าง 2-8 ซม. ยาว 9-30 ซม. ปลายใบแหลมทู่ โคนใบสอบ ผิวใบเกลี้ยง มีหูใบ แผ่เป็นแผ่น รูปเกือบกลม ขนาดกว้าง 2-3.5 ซม. เรียงเวียน ซ้อนกันบริเวณโคนก้านใบใกล้ปลายยอด ดอก สีขาวครีม ออกเป็น ช่อห้อย ยาวถึง 75 ซม. แยกเพศ ดอกบานกว้าง 5-7 มม. กลีบรองดอก 4 กลีบ รูปเกือบกลม กลีบดอก 4 กลีบ เกสรผู้ 5-8 อัน รังไข่มี 2 ช่อง ผล รูปไข่ถึงรูปรีป้อม สีม่วงดำถึงออกแดง ผิวเกลี้ยงมักมี 2 เมล็ด
การกระจายพันธุ์ : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงอินโดนีเซีย ประเทศไทยพบมากในภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ตามแนวชายป่าหรือริมลำธาร ที่ระดับ ความสูงถึง 1,000 เมตร

ช่วงเวลาการออกดอก : มิถุนายน-ธันวาคม

ประโยชน์ : ผลสุกรับประทานได้ มีรสหวาน สีม่วงจากผล ใช้ผสมอาหาร