ชื่อ : ชะพลู

ชื่อสามัญ  –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper samentosum Roxb.

ชื่อวงศ์ : PIPERACEAE

ชื่อท้องถิ่น : ผักปูนก (ลำปาง), ช้าพลู (ภาคกลาง) ชะพลูเถา เฌอภลู (สุรินทร์) ผักปูนา ผักปูลิง ผักปูริง ปูลิงนก ผักพลูนก ผักอีไร ผักอีเลิศ
(ภาคอีสาน) พลูลิง (ภาคเหนือ) เย่เท้ย (แม่ฮ่องสอน) พลูนก ผักปูนก (พายัพ) พลูลิงนก (เชียงใหม่) นมวา (ใต้) ปู้,ปู๊ (ไทยใหญ่)

 

ลักษณะ

ลำต้นชะพลู ลำต้นมีลักษณะตั่งตรง สูงประมาณ 30-50 ซม. สีเขียวเข้ม มีข้อเป็นปม แตกกอออกเป็นพุ่ม เติบโตได้ดีในพื้นที่ดินชุ่ม

 

ใบชะพลู ใบมีสีเขียวสดถึงเขียวแก่ ก้านใบยาว 1-3 ซม. ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว คล้ายรูปหัวใจ ใบกว้าง 5-10 เซนติเมตร ยาว 7-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ผิวมันออกมัน แทงใบออก 2 ใบตรงข้ามกัน
มีเส้นใบประมาณ 7 เส้น แทงออกจากฐานใบ

 

ดอกชะพลู ดอกเป็นช่อ ทรงกระบอก ชูตั้งขึ้น ดอกอ่อนมีสีขาว เมื่อแก่จะออกสีเขียว รูปทรงกระบอก แทงดอกบริเวณปลายยอด และช่อใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1.5 ซม. ดอกเป็นดอกแยกเพศ
ผลชะพลู ผลเจริญบนช่อดอก มีลักษณะเป็นผลสีเขียว ผิวมัน มีลักษณะกลมเล็กฝังตัวในช่อดอกหลายเมล็ด มักออกดอกมากในฤดูฝน

ประโยชน์

  1. สามารถช่วยเจริญอาหาร
  2. ช่วยขับเสมหะ ทำเสมหะให้งวด
  3. ทำให้เลือดลมซ่าน
  4. แก้ธาตุพิการ
  5. รักษาโรคเบาหวาน
  6. ช่วยทำให้ระบบหมุนเวียนโลหิตดี
  7. แก้ศอเสมหะ ทำให้เสมหะแห้ง
  8. ช่วยย่อยอาหาร
  9. ช่วยขับลมในลำไส้
  10. ช่วยขับเสมหะให้ตกทางทวารหนัก
  11. ช่วยบำรุงธาตุ
  12. แก้เบาเหลือง ขัดเบา ปวดเอ็น
  13. แก้ปวดท้องแน่นจุกเสียด แก้ไข้ดีซ่าน ดีกระตุก บำรุงน้ำดี
  14. รักษาโรคบิด
  15. ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก
  16. ช่วยในการขับเสมหะทางอุจจาระ
  17. ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน และช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน

แหล่งอ้างอิง

www.disthai.com/16488297/ชะพลู