ชื่อวิทยาศาสตร์ : Albizia odoratissima (L.f.) Benth.
ชื่อเรียกอื่น : กางแดง คางแดง จันทน์ มะขามป่า
ชื่อวงศ์ : FABACEAE (LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE)
ลักษณะ : ไม้ต้น สูง 10-15 เมตรปลายยอดและกิ่งอ่อนมีรอยแผล ระบายอากาศ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ยาว 20-30 ซม. ใบย่อย 10-16 คู่ รูปขอบขนานแกมเบี้ยว กว้าง 0.6-1.2 ซม. ยาว 1.1-3.5 ซม. ดอก สีขาว ออกเป็นช่อตามกิ่ง ยาว 10-20 ซม. ช่อดอกย่อยประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก รวมกันเป็นกลุ่ม กลีบรองดอกรูปหลอดปลายเป็นซี่เล็ก กลีบดอกรูปกรวย ยาว 6.5-9 มม. ปลายแยกเป็นแฉก เกสรผู้จำนวนมาก ผล เป็นฝักแบนรูป ขอบขนาน กว้าง 2.5-3 ซม. ยาว 17-20 ซม. เมื่อแก่มีสีน้ำตาลเข้ม และแตกด้านข้าง เมล็ด รูปรีกว้าง
การกระจายพันธุ์ : มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าดิบเขาและป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูงถึง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ช่วงเวลาการออกดอก :
มีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม

การกระจายพันธุ์ : มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าดิบเขาและป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูงถึง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ช่วงเวลาการออกดอก :
มีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม
ประโยชน์ :

  1. ดอกและเปลือกใช้เป็นยาบำรุงธาตุ
  2. ใบมีรสฝาดเฝื่อน ใช้เป็นยาแก้ไข้
  3. ดอกมีรสหวานใช้เป็นยาแก้ตาอักเสบ
  4. เปลือกต้นใช้ต้มเอาน้ำแล้วอมไว้ในปาก แก้อาการปวดฟัน
  5. เปลือกมีรสฝาดเฝื่อน ใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง แก้ลำไส้พิการ
  6. เปลือกใช้เป็นยาแก้พยาธิ
  7. ใช้เป็นยาแก้ตกโลหิต
  8. เปลือกใช้ฝนรักษาแผลโรคเรื้อน แผลเปื่อยเรื้อรังและทาฝี
  9. เปลือกใช้เป็นยาแก้ฝี แก้บวม
  10. ดอกใช้เป็นยาแก้คุดทะราด
  11. ดอกใช้เป็นยาแก้ปวดบาดแผล แก้พิษฟกบวม
  12. เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ในการสร้างบ้าน ก่อสร้างภายในที่ไม่รับน้ำหนักมาก ทำไม้อัด เป็นเฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ
  13. ชาวไทใหญ่จะใช้ยอดอ่อนในพิธีสร้างบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล