ชื่อ : โคคลาน
ชื่อสามัญ : Cocculus, Cocculus indicus, Fishberry indian berry
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anamirta cocculus (L.) Wight & Arn.
ชื่อวงศ์ : MENISPERMACEAE
ชื่อท้องถิ่น : แม่น้ำนอง (เชียงใหม่), ว่านนางล้อม (แพร่), จุ๊มร่วมพนม (จันทบุรี), เถาพนม อมพนม (ชลบุรี), เถาวัลย์ทอง เถาวัลย์ทองชักโครง (ประจวบคีรีขันธ์), ลุ่มปรี (ตรัง), ขมิ้นเครือ (ภาคเหนือ), เถาขะโนม ลุมปรี (ภาคตะวันออกเฉียงใต้), หวายดิน โคคลาน (ภาคกลาง), วาร์ลำลงพนม (เขมร-ปราจีนบุรี)
ลักษณะ
ต้นโคคลานจัดเป็นพรรณไม้เถา เถามีลักษณะกลมและมีขนาดใหญ่เท่าขาของคน หรือมีขนาดใหญ่เท่ากับต้นหมาก มีเนื้อไม้แข็ง ส่วนเถานั้นจะยาวและเลื้อยพันขึ้นไปตามต้นไม้หรือเลื้อยไปตามพื้นดิน ส่วนเถาอ่อนหรือกิ่งของเถาอ่อนจะมีหนาม เปลือกเถาเรียบเป็นสีดำแดงคร่ำและจะแตกเป็นร่องระแหง และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด โดยเป็นพรรณไม้ที่มักเกิดขึ้นตามธรรมชาติในป่าหรือตามพื้นที่ราบ
ใบโคคลานลักษณะของใบเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วหรือรูปหัวใจ โคนใบมนตัดหรือเว้าเล็กน้อย ส่วนปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหยักตื้นหรือเรียบ ส่วนแผ่นใบเรียบเป็นสีเขียวเข้ม ใบมีขนาดยาวประมาณ 7-10 เซติเมตร
ส่วนก้านใบมีความยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร
ดอกโคคลานออกดอกเป็นช่อบริเวณซอกใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก
ผลโคคลานลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมขนาดเล็ก ผลเมื่อแก่เต็มที่จะเป็นสีแดง ส่วนเมล็ดมีลักษณะเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยวและมีรสขมมาก
ประโยชน์
- โคคลานช่วยบำรุงโลหิต (ราก)
- เถาเป็นยาแก้กษัย (เถา)
- ผลมีสารพิโครท็อกซิน (Picrotoxin) มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง และได้มีการนำมาใช้เป็นยารักษาพิษในคนที่กินยานอนหลับจำพวกบาร์บิทูเรต (Barbiturate) เกินขนาดหรือฉีดเข้าเส้นเลือดในขนาน 2 มิลลิกรัม
- เมล็ดใช้รักษาโรคผลหนัง (เมล็ด)
- ผลและเมล็ดสามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในขี้ผึ้งเพื่อช่วยบำบัดโรคผิวหนัง เช่น อาการคันที่เกิดขึ้นตามคอและหนังศีรษะซึ่งติดมาจากร้านตัดผม (ผล, เมล็ด)
- ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว แก้เส้นตึง (เถา, ราก)
แหล่งอ้างอิง
medthai.com/ต้นโคคลาน/