ชื่อ : เก๊กฮวย
ชื่อสามัญ : Chrysanthemum
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendranthema morifolium (Ramat.) Tzvel. , Dendranthema indicum L.
ชื่อวงศ์ : ASTERACEAE (COMPOSITAE)
ชื่อท้องถิ่น –
ลักษณะ
ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกับ Chrysanthemum morifolium ต่างกันตรงแผ่นใบบางกว่ามาก สีเขียวสดและมีขนน้อยมาก ขอบใบเว้าลึกและเป็นจักแหลมกว่า เส้นผ่านศูนย์กลางช่อดอก 1-2 ซม. ก้านช่อดอกสั้นกว่า
วงใบประดับรูปรีถึงรูปไข่กลับ ขอบกลีบบางและโปร่งแสง กลีบดอกชั้นนอกรูปลิ่ม สีเหลือง ยาวประมาณ 5 มม.
ประโยชน์
- น้ำเก๊กฮวยใช้ดื่มแก้กระหาย เพิ่มความสดชื่น
- ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
- ช่วยขับเหงื่อ
- จากงานวิจัยพบว่าสารสกัดจากดอกเก๊กฮวยมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสเอดส์ได้
- ช่วยดูดซับสารก่อมะเร็งและจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ
- ช่วยขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ไปเลี้ยงหัวใจ ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดต่าง ๆ
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดตีบ
- ช่วยบำรุงโลหิต
- ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
- ช่วยบำรุงและรักษาสายตา (เก๊กฮวยดอกเหลือง)
- ช่วยแก้อาการตาบวมแดง ปวดตา มองเห็นไม่ชัด ตาเบลอ ตามัว
- แก้อาการตาอักเสบ ด้วยการใช้ดอกสดตำแล้วนำมาประคบภายนอกดวงตา
- ช่วยแก้อาการปวดศีรษะเนื่องจากการกำเริบของหยางในตับ
- ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย (เก๊กฮวยดอกเหลือง)
- ช่วยแก้ไข้ (เก๊กฮวยดอกเหลือง)
- ช่วยแก้อาการหวัด
- เก๊กฮวยดอกขาวหากใช้ร่วมกับ สะระแหน่ ใบไผ่ขม จะช่วยแก้อาการไอได้
- เก๊กฮวยแก้ร้อนใน มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ช่วยดับพิษร้อน
- ช่วยระบายและย่อยอาหาร
- ช่วยขับลม
- เก๊กฮวยดอกขาวหากใช้ร่วมกับ สะระแหน่ ใบไผ่ขม จะช่วยบำรุงปอด
- ช่วยบำรุงตับ ไต (เก๊กฮวยดอกเหลือง)
- ใช้รักษาฝีเป็นหนอง บวม และเป็นพิษ ด้วยการใช้ดอกสดนำมาบดผสมน้ำแล้วดื่ม และนำกากที่เหลือมาพอกบริเวณที่เป็น
- ช่วยรักษาผมร่วง ทำให้ผมไม่เปลี่ยนเป็นสีเทา
แหล่งอ้างอิง
medthai.com/เก๊กฮวย/
rspg.or.th/plants_data/plantdat/asterace/cindic_2.htm