ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus lacucha Roxb. ex Buch.-Ham.
ชื่อเรียกอื่น :
กาแย ตาแป ตาแปง (มาเลย์-นราธิวาส) ทังคัน ม่วงกวาง (ยะลา) มะหาด ขนุนป่า มะหาดใบใหญ่ หาดขน หาดรุม หาดลูกใหญ่
ชื่อวงศ์ :
MORACEAE
ลักษณะ : ไม้ต้น
  สูง  10-24  เมตร  เรือนยอดเป็นพุ่มทรงสูง  เปลือกสีเทาคล้ำ  เรียบถึงแตกตื้น ๆ เปลือกชั้นในสีชมพูแกมม่วงอ่อน  แผ่นใบ  รูปรี  รูปขอบขนานถึงรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน  กว้าง  5-15  เซนติเมตร  ยาว  10-30  เซนติเมตร   ด้านบนเกลี้ยง  ยกเว้นเส้นใบ  ด้านล่างมีขนสั้น  ปลายใบเป็นติ่ง  โคนใบเบี้ยว  สอบกว้าง  มน  บางครั้งเว้าเล็กน้อย  เส้นแขนงใบ  10-20  คู่  ก้านใบยาว  1.5-2.5  เซนติเมตร  ดอก  ออกเป็นช่อตามง่ามใบ  ผล  ค่อนข้างกลม   โหนกโนเป็นปุ่มปม  กว้างยาว  2.5-8.5  เซนติเมตร  ผิวค่อนข้างเรียบ  มีขนนุ่มสั้น ๆ เมื่อแก่สุกสีเหลืองอ่อน 


การกระจายพันธุ์ :
พบทั่วไปในป่าดิบแล้ง ดิบชื้นแทบทุกภาคของประเทศที่สูงจากระดับน้ำทะเล 100-400 เมตร ต่างประเทศพบที่ศรีลังกา อินเดีย พม่า คาบ สมุทรมาเลย์ สุมาตรา บอร์เนียว และไทย
ช่วงเวลาการออกดอก :
กุมภาพันธ์-เมษายน
ประโยชน์ :
เนื้อไม้ทำเครื่องเฟอร์นิเจอร์ รากให้สีย้อมสีเหลือง เปลือกใช้รักษาแผลติดเชื้อ ยางใช้แทนหมาก ใบเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ได้ดี เมล็ดเป็นยาถ่าย ปลูกเป็นไม้ให้ร่ม