“สวนป่าพฤกษพัฒน์” จากคำบอกเล่าของผู้ใหญ่บ้านอาวุโส เล่าถึงประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านป่าห้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ว่าชุมชนป่าห้า มีอายุมากกว่า 100 ปี แรกเริ่มเดิมทีมีบ้านเรือนที่อาศัยอยู่ประมาณ 7-14 หลังคาเรือน โดยชาวบ้านส่วนใหญ่ อพยพมาจากเมือง เชียงใหม่ และเมืองลำพูน เดินทางย้าย ถิ่นฐานโดยใช้วัวเป็นพาหนะ ซึ่งใช้เวลาเดินทางจาก จังหวัดเชียงใหม่ มาถึงบ้านป่าห้า ใช้เวลาร่วมเดือน ด้วยเส้นทางเชียงใหม่ – ฝาง – ท่าตอน เรื่อยมาจนปักหลัก ถิ่นฐาน โดยตลอดระยะทาง ต้องระมัดระวังอันตรายจาก เสือที่จะเข้ามาทำร้ายวัว และผู้ร่วมเดินทางอยู่ตลอดเวลา ณ พื้นที่บ้านป่าห้าในปัจจุบันนี้ เหตุผลที่เรียกหมู่บ้าน
ป่าห้า ก็สืบเนื่องจากพื้นที่บริเวณแห่งนี้ ประกอบด้วยต้นห้า หรือต้นหว้าที่ขึ้นเองโดยธรรมชาติเป็นจำนวนมาก มีลักษณะหนาแน่นเหมือนป่าขนาดใหญ่ จึงเห็นว่า ควรตั้งชื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของพื้นที่ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของชื่อ “หมู่บ้านป่าห้า”

ในส่วนของพื้นที่ “สวนป่าพฤกษพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนา” นั้น (กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานชื่อเพื่อเป็นสิริมงคล แก่โครงการฯ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2562) เป็นพื้นที่ป่าที่มีความสำคัญ และมีประวัติความเป็นมา ยาวนาน โดยนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2480 พื้นที่เป็นป่ารกทึบ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สถานีใบยาสูบป่าสักขวาง
สังกัดสำนักงานยาสูบเชียงราย ได้รังวัดจัดสรร และพัฒนา พื้นที่สวนป่าแห่งนี้ เป็นศูนย์เพาะพันธุ์กล้ายาสูบแจกจ่าย ให้กับเหล่าสมาชิกไปเพาะปลูก ในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งเมื่อก่อนนั้นนิยมปลูกใบยาสูบเป็นอย่างมาก และถือ เป็นอาชีพหลักของชาวบ้านป่าห้า รองจากปลูกข้าว ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ (ปัจจุบันยังคงเหลือหลุมที่เดิม ใช้เป็นแหล่งน้ำ สำหรับรดกล้ายาสูบที่เพาะขยายพันธุ์ในพื้นที่)

ต่อมาได้มีการยกเลิกศูนย์เพาะพันธุ์กล้ายาสูบ ทำให้พื้นที่ดังกล่าวถูกทิ้งร้างว่างเปล่าไร้คนดูแล จนต้นไผ่ได้ผุดงอกขึ้นงอกงามในพื้นที่ ในปี พ.ศ. 2490 ได้มีการ ตัดต้นไผ่และถางเผา ในปีพ.ศ. 2500 ได้มีการปลูกต้น ขี้เหล็ก เพื่อต้องการใช้ประโยชน์จากต้นขี้เหล็ก และถูกทิ้ง รกร้างเรื่อยมา ยาวนานนับ 62 ปี จนกลายเป็นป่าที่มี ทั้งพืชใหญ่น้อย มีนกมีแมลงต่างๆ อาศัยเป็นที่พักพิง
จนถึงปัจจุบัน

 

ปัจจุบันสวนป่าพฤกษพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนา เป็นสถานที่แหล่งเรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สนใจเข้าศึกษาเยี่ยมชม
ติดต่อสอบถายรายละเอียดโทรฯ 053-734-140 ต่อ 0 หรือ 231