ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Euphorbia antiquorum L.
ชื่อเรียกอื่น : กะลำพัก (นครราชสีมา), เคียะเหลี่ยม หงอนงู (แม่ฮ่องสอน), เคียะยา (ภาคเหนือ), สลัดไดป่า (ภาคกลาง), ทูดุเกละ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หั่วยานเล่อ ป้าหวางเปียน (จีนกลาง)
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ลักษณะ : ต้นสลัดได มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กจำพวกเดียวกับตะบองเพชร มีความสูงของต้นประมาณ 3-6 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก ตามต้นและกิ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมอวบน้ำ เว้าคอดต่อกัน ผิวเรียบ ขอบสันหรือตามแนวเหลี่ยมเป็นหยักและมีหนามคู่เล็กแหลม 1 คู่ ทุกส่วนของต้นมียางสีขาวข้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบมีขนาดเล็กมาก แผ่นใบอวบน้ำและหลุดร่วงได้ง่านเหมือนไม่มีใบ ดอกสลัดได ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ โดยจะออกตามแนวสันเหนือหนาม ดอกมีใบประดับสีเหลือง 5 ใบ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียไม่มีกลีบดอก และจะอยู่ในช่อดอกเดียวกัน แต่ในช่อหนึ่งจะดอกมีเพศเมียดอกเดียว และมีดิกเพศผู้หลายดอก
การกระจายพันธุ์ : มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กจำพวกเดียวกับตะบองเพชร  พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย

ช่วงเวลาการออกดอก :

ประโยชน์ :

ข้อควรระวัง: