ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mallotus philippensis (Lam.) Müll.Arg.
ชื่อเรียกอื่น : กายขัดหิน ขี้เนื้อ ขางปอย ซาดป่า ลายตัวผู้ พรากวางใบใหญ่ ทองขาว แทงทวย มะคายแสด
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ลักษณะ : ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 12 ม. ใบเป็นใบเดี่ยว รูปรี กว้าง 3-10 ซม. ยาว 6-10 ซม. โคนใบสอบมนและมีต่อม 1 คู่ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 2-7 ซม. ดอกสีขาวหม่น ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ยาว 3-15 ซม. แยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้ มีกลีบดอก 3-4 กลีบ เกสรผู้ 23-32 อัน ดอกเพศเมีย มีกลีบดอก 5 กลีบ ผลสีแดงหรือแดงแสด ทรงกลม มี 3 พูตื้นๆ ขนาด 5-10 มม. เมล็ดรูปไข่ ขนาด 4 มม.
การกระจายพันธุ์ : ในประเทศไทยพบได้ทั่วไป บริเวณชายป่าดงดิบ
ช่วงเวลาการออกดอก :
ประโยชน์ :
สรรพคุณ
- เปลือกต้นช่วยบำรุงธาตุ (เปลือกต้น)
- เมล็ดช่วยแก้ไข้ (เมล็ด)
- ผลและใบนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้หวัด (ผลและใบ)
- ช่วยแก้พรรดึก (เปลือกต้น)
- ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ (เมล็ด)
- เปลือกต้นใช้รักษาโรคกระเพาะ (เปลือกต้น)
- เมล็ดเป็นยาขับพยาธิ (เมล็ด) ขนจากผลที่เป็นผงสีแดง ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวกลม พยาธิตัวแบน และพยาธิตัวตืด (ขนจากผล) สารสกัดจากผลสามารถฆ่าพยาธิตัวตืดได้ทั้งหลอดทดลองและในสัตว์ทดลอง
- แก่นใช้ต้มกับน้ำดื่ม ช่วยแก้ปัสสาวะแดงหรือเหลือง (แก่น)
- ใบและดอกมีรสเฝื่อน ใช้เป็นยาพอกบาดแผล (ใบ, ดอก) หรือจะนำเมล็ดมาทำเป็นผงก็ใช้พอกแผลได้เช่นกัน (เมล็ด)
- ดอกและเปลือกต้นมีรสเฝื่อน ใช้เป็นยารักษาแผลเรื้อรัง (ดอก, เปลือกต้น)
- ราก ใบ และขนจากผล นำมาตำรวมกับน้ำผึ้ง ใช้เป็นยาทาแก้แผลอักเสบ (ราก, ใบ, ขนจากผล)
- เปลือกต้นมีรสเฝื่อนใช้รักษาโรคผิวหนัง (เปลือกต้น)
- เมล็ดใช้แก้โรคเรื้อน (เมล็ด)
- ราก ใบ และขนจากผล นำมาตำรวมกับน้ำผึ้ง ใช้เป็นยาทาแก้สัตว์มีพิษกัดต่อย (ราก, ใบ, ขนจากผล)
- ตำรับยาพื้นบ้านใช้แก่นนำมาต้มกับน้ำดื่มช่วยแก้โรคเส้น (แก่น)
ประโยชน์
- เมล็ดใช้เป็นยาเบื่อปลา
- ราก ใบ และขนจากผล นำมาตำรวมกับน้ำผึ้ง ใช้เป็นยาทาแก้สิวและลอกฝ้า
- ผลใช้ทำเป็นสีย้อมผ้าได้ โดยจะให้สีแดงที่เรียกว่า Kamela dye
- เนื้อไม้คำแสดใช้ทำเป็นฟืนได้