ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mitrephora sirikitiae Weerasooriya, Chelermglin & R.M.K. Saunders
ชื่อเรียกอื่น : –
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4-6 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-8 เซนติเมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาล กิ่งอ่อนมีขนอ่อนคลุมอยู่ ใบรูปหอก กว้าง 4-9 เซนติเมตร ยาว 11-19 เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน โคนใบและปลายใบแหลม มีเส้นแขนงใบจำนวน 8-11 คู่ ส่วนดอกมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ 1-3 ดอก ใกล้ปลายยอดเป็นพรรณไม้ที่มีดอกใหญ่ที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับดอกของพรรณไม้ ชนิดอื่นๆ ในสกุลมหาพรหม โคนกลีบสีเขียวอ่อน ปลายกลีบสีม่วงเข้ม กระดกงอขึ้นและประกบติดกันเป็นรูปกระเช้า แต่ละดอดบานอยู่ได้ 3-5 วัน กลิ่นหอมอ่อนๆ ผลเป็นผลกลุ่ม มีผลย่อย 10-15 ผล รูปทรงกระบอก
การกระจายพันธุ์ : มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณที่แคบๆ ของยอดเขาสูงชันที่ระดับความสูง 1,100 เมตร ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน นับเป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่น (endemic) เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ทั้งยังเป็นพรรณไม้หายาก เนื่องจากมีจำนวนต้นในสภาพถิ่นกำเนิดน้อยมาก และมีการกระจายพันธุ์ต่ำ
ช่วงเวลาการออกดอก : ดอกบานเต็มต้นในช่วงเดือนพฤษภาคม
ประโยชน์ : สำหรับสรรพคุณทางยา ขณะนี้ยังไม่ได้ทำวิจัยออกมาเพียงแต่แยกดีเอ็นเอในสายพันธุ์ และกำลังตรวจหาสารที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป