ชื่อ : ดีปลากั้ง
ชื่อสามัญ –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phlogacanthus pulcherrimus T.Anderson
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่อท้องถิ่น : บีปลากั้ง
ลักษณะ
ต้นดีปลากั้ง จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 0.5-1.5 เมตร
ใบดีปลากั้ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-16 เซนติเมตร ก้านใบยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร
ดอกดีปลากั้ง ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ช่อดอกเป็นแบบช่อเชิงลด ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียว ลักษณะเป็นรูประฆัง ยาวได้ประมาณ 5 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกเป็นสีม่วงอมแดง เชื่อมติดกันเป็นรูปคนโท หลอดกลีบพองออกด้านเดียว ส่วนปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ผลดีปลากั้ง ผลเป็นแบบแคปซูล ยาวได้ประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร เมื่อแห้งจะแตกออก เมล็ดจะเกิดที่ช่วงปลายของผล มีก้านตะขอดีดเมล็ด
ประโยชน์
- ตำรายาพื้นบ้านจังหวัดมุกดาหารจะใช้สมุนไพรดีปลากั้งเป็นยาบำรุงกำลัง (ยอดอ่อน)
- ใบมีรสขมหวาน มีสรรพคุณช่วยคลายเครียด แก้เบาหวาน (ยอดอ่อน)
- ยอดอ่อนมีรสขมอ่อน ๆ ใช้รับประทานเป็นอาหาร มีสรรพคุณช่วยทำให้เจริญอาหาร (ยอดอ่อน)
- ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานีจะใช้ส่วนของลำต้นดีปลากั้ง นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด (ลำต้น)
- ยอดใช้นึ่งรับประทานเป็นยาแก้ปวดหลัง (ยอดอ่อน)
แหล่งอ้างอิง
medthai.com/ดีปลากั้ง/